The Zen Ox Herding Pictures #10
~ By Buddhadāsa Bhikkhu ~
Picture 10
The old sage on the left represents an enlightened person, who has no attachment to a sense of self and lives only for the benefit of others. In one hand he carries a lantern, which symbolizes illuminating knowledge, and on his back he carries a large sack filled with useful things to share with others. The sage is capable of helping his fellow human beings both mentally and physically—his wisdom shines forth on the spiritual path for others, and his lack of attachment to material possessions allows him to freely give things away.
Standing on the right side of the picture is the young man who has tamed the ox. He has traveled until he encounters the sage, or wise giver. Life is being compared to a journey, on which we human beings travel until we find the wise giver, which refers to the Buddha or the Enlightened Ones who illuminate the world with their wisdom and insight. Upon finding the wise giver, we come into contact with the awakened state of Buddhahood, and see the possibility of enlightenment within ourselves.
After receiving guidance, we follow the footsteps of the Enlightened Ones to transcend the world and achieve the purest happiness possible for human beings. Eventually, we can start living an illuminating and charitable life purely for the good of others.
(From the book “The Spiritual Theatre Zen Paintings: Commentaries and Poems” by Buddhadāsa Bhikkhu)
- - ❖ - -
“Spiritual Theater in the City” is a series of weekly posts on the paintings and sculptures exhibited at the Buddhadāsa Indapañño Archives, Bangkok.
- - ❖ - -
Listen to English retreat talks, please visit Buddhadāsa Bhikkhu.
For more information and free ebooks, visit Suan Mokkh – The Garden of Liberation.
- - ❖ - -
Illustration: The Spiritual Theatre at Suan Mokkhabalarama, Chaiya, Surat Thani
- - ❖ - -
ภาพที่ ๑๐
ต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องของคนที่ไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นที่ยึดถือผูกพันอะไร แล้วก็มีชีวิตชนิดที่กระทำไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เที่ยวแจกสิ่งที่ควรแจก. ที่ถืออยู่ในมือข้างหน้านั้นเป็น “ตะเกียง” หมายถึง แสงสว่าง เขาแจกแสงสว่างคือวิชาความรู้. ห่อใหญ่ที่สะพายหลังอยู่นั้นเป็นห่อของก็แจกของด้วย สามารถจะแนะวิธีทั้งฝ่ายที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมให้ได้รับทั้งแสงสว่าง ให้ได้รับทั้งสิ่งของ หรือจะพูดว่าสามารถจะให้ความรู้ ทั้งเรื่องฝ่ายวัตถุร่างกายซึ่งเป็นสิ่งของ และสามารถให้สิ่งที่มีความสำคัญแก่จิตใจคือแสงสว่าง.
คนที่ยืนอยู่ตรงหน้านั้นเป็นคนเดินทาง มาพบกันเข้ากับผู้แจกของส่องตะเกียง. หมายความว่า ชีวิตเป็นการเดินทาง ขอให้ทุกคนเดินทาง คือเดินไปตามทางของชีวิต แล้วก็จะได้มาพบกันเข้ากับผู้แจกของส่องตะเกียง ซึ่งความมุ่งหมายส่วนใหญ่ ก็เล็งถึงพระอริยเจ้า หรือพระพุทธเจ้า ผู้ทำหน้าที่เป็นแสงสว่างแก่โลก. ก็หมายความว่า มนุษย์นั้นได้ถึงพุทธภาวะ ได้รับคำชี้แจงที่จะมีพุทธภาวะ ก็เป็นผู้ที่ถึงพุทธภาวะ มีความสุขสูงสุดชนิดที่มนุษย์จะพึงได้. รวมความว่าจบเรื่อง นับตั้งแต่มนุษย์เกิดมาไม่รู้อิโหน่อิเหน่ว่าอะไร แล้วเริ่มพบรอยทาง แล้วเดินตามรอยทาง พบประโยชน์ในโลกคือวัว จับวัวได้ บริโภคประโยชน์ในโลกถึงที่สุดแล้ว ก็ปล่อยวาง มุ่งไปทางเหนือโลก จนได้พบความว่าง เป็นความว่างจากตัวตนโดยหมดจดสิ้นเชิง แล้วก็กลายเป็นผู้แจกของส่องตะเกียงอย่างนี้.
เนื้อหา: คำอธิบายภาพปริศนาธรรม โดยพุทธทาสภิกขุ